ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล เป็นตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบใน 5 ประเด็น คือ (1) ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข่าวประชาสัมพันธ์ และการปฏิสัมพันธ์ข้อมูล (2) การบริหารงานได้แก่ แผนดำเนินงาน การปฏิบัติงาน และการให้บริการ (3) การบริหารเงินงบประมาณ ได้แก่ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี และการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ (4) การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้แก่นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล และหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และ (5) การส่งเสริมความโปร่งใสในหน่วยงาน ได้แก่ การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นข้างต้นแสดงถึงความโปร่งใสในการบริหารงานและการดำเนินงานของหน่วยงาน ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย (33 ข้อมูล) ดังนี้

ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน

 ข้อ   ข้อมูล     องค์ประกอบด้านข้อมูล  การเผยแพร่ 

 01 

โครงสร้าง  

– แสดงแผนผังแสดงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของ สถานศึกษา        โครงสร้างการบริหาร   
– แสดงตำแหน่งที่สำคัญและการแบ่งส่วนงานภายใน ยกตัวอย่างเช่น ฝ่าย งาน แผนกวิชา เป็นต้น

02

ข้อมูลผู้บริหาร       

– แสดงข้อมูลของผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ชื่อ-นามสกุล
   2.ตำแหน่ง
   3.รูปถ่าย
   4.ช่องทางการติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หรือ Line หรือ E-mail เป็นต้น 
 ข้อมูลผู้บริหาร 
 03 อำนาจหน้าที่ – แสดงข้อมูลหน้าที่และอำนาจของสถานศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คำสั่งมอบหมายหน้าที่ของสถานศึกษา ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา เป็นต้น  คำสั่งมอบหมายหน้าที่ราชการ
 04 แผนพัฒนาสถานศึกษาหรือแผนปฏิบัติราชการประจำปี  – แสดงแผนการดำเนินภารกิจของสถานศึกษาที่มีระยะมากกว่า 1 ปี
– มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ยุทธศาสตร์หรือแนวทาง
   2.เป้าหมาย
   3.ตัวชี้วัด
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปีงบประมาณปัจจุบัน
แผนพัฒนาการศึกษา/แผนปฏิบัติราชการ
 05 ข้อมูลการติดต่อ – แสดงข้อมูลการติดต่อของสถานศึกษา อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ที่อยู่สถานศึกษา
   2.หมายเลขโทรศัพท์
   3.E-mail
   4.แผนที่ตั้ง
 ช่องทางการติดต่อ
 06 กฏหมายที่เกี่ยวข้อง  – แสดงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานของสถานศึกษา เช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับ ปวช. และ ปวส. เป็นต้น  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
การประชาสัมพันธ์
 07 ข่าวประชาสัมพันธ์ – แสดงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตาม อำนาจหน้าที่หรือภารกิจ ของสถานศึกษาเป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณปัจจุบัน  ข่าวประชาสัมพันธ์ facebook
ข่าวประชาสัมพันธ์เว็บไซต์วิทยาลัย
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล    
 08 Q&A – แสดงตำแหน่งบนเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่บุคคลภายนอก สามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ และหน่วยงานสามารถสื่อสารให้คำตอบกับ ผู้สอบถามได้ โดยมีลักษณะเป็นการสื่อสารได้สองทางบนหน้าเว็บไซต์ของสถานศึกษา (Q&A) ยกตัวอย่าง เช่น Web board, กล่องข้อความถาม-ตอบ,Messenger Live Chat, Chatbot เป็นต้น  เว็บบอร์ด Messenger งานประชาสัมพันธ์
 09  Social Network  – แสดงตำแหน่งบนเว็บไซต์ของสถานศึกษาหรือช่องทางที่สามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายสังคมออนไลน์ของสถานศึกษา ยกตัวอย่าง เช่น Facebook, Twitter, Instagram, Tiktok เป็นต้น  facebook
Youtube
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน
การดำเนินงาน
 10  แผนดำเนินงาน   ประจำปี – แสดงแผนการดำเนินภารกิจของสถานศึกษาที่มีระยะ 1 ปี
– มีข้อมูลรายละเอียดของแผน อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.โครงการหรือกิจกรรม
   2.งบประมาณที่ใช้
   3.ระยะเวลาในการดำเนินการ
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณปัจุบัน
 แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567
 11  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน – แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปีในข้อ O10
– มีเนื้อหาหรือละเอียดความ ก้าวหน้า อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
   2.รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน
– สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
– รูปแบบรายงานสามารถดำเนินการเป็นตารางหรือตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานศึกษา
 รายงานการกำกับติดตาม
 12  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี – แสดงผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปี
– มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ อย่างน้อย ประกอบด้วยดังนี้
1.ผลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
2.ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
3.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
(หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้เขียนบอกว่า “ไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ” แต่ต้องปรากฎรายละเอียดครบทั้ง 3 องค์ประกอบ)
 สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567
การปฏิบัติงาน
 13  คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน – แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่ใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  คู่มือการปฏิบัติงานสารบรรณ
การให้บริการ  
 14  คู่มือหรือมาตรฐาน
การให้บริการ
 – แสดงคู่มือการให้บริการประชาชนหรือคู่มือแนวทางการปฏิบัติที่ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อกับสถานศึกษา ซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการขอรับบริการหรือติดต่อกับสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติ อย่างน้อย 1 คู่มือ ซึ่งกำหนดวิธีการขั้นตอนการให้บริการหรือการติดต่ออย่างไร ตัวอย่างเช่น คู่มือการให้บริการงานการเงิน, คู่มือนักเรียนนักศึกษา, คู่มือการลงทะเบียนสำหรับนักเรียนนักศึกษา, คู่มือการให้บริกาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
 คู่มือนักเรียน นักศึกษา
คู่มือการใช้งานระบบ RMS สำหรับผู้ปกครอง
 15  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ – แสดงข้อมูลสถิติการให้บริการสถานศึกษา
– สามารถจัดทำข้อมูลแบบเป็นรายเดือน หรือไตรมาส ราย 6 เดือน ที่มีครอบคุลม ในระยะเวลา 6 เดือนแรกของ ปีงบประมาณปัจจุบัน
– เป็นข้อมูลที่เกิดจากการให้บริการจากสถานศึกษา เช่น ความพึงพอใจในการบริการ Fix it ช่วงเทศกาลปีใหม่, ความพึงพอใจต่อผู้สอน, ความพึงพอใจในการประชุมผู้ปกครอง เป็นต้น
 ข้อมูลสถิติการให้บริการงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน
 16  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ – แสดงผลสำรวจความพึงพอใจการให้บริการของสถานศึกษา
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
 รายงานผลสำรวจความพึงพอใจ หน้า 6-8
 17  E-Service – แสดงช่องทางการให้บริการข้อมูลหรือธุรกรรมภาครัฐที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ขอรับบริการ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายัง สถานศึกษา ตัวอย่างเช่น การร้องเรียน ร้องทุกข์, ระบบ ศธ.02, ระบบ RMS เป็นต้น
– สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นจากเว็บไซต์หลักของสถานศึกษา
 บริการ E-Serv ระบบ ศธ.02 ออนไลน์ ระบบ RMS
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 18  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี – แสดงแผนการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษาที่มีระยะเวลา 1 ปี
– มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อย ประกอบด้วย ความก้าวหน้าของการใช้จ่ายงบประมาณ
   1.งบประมาณตามแหล่งที่ได้รับการจัดสรร
   2.งบประมาณตามประเภทรายการใช้จ่าย
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน
 แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 19 รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือน – แสดงความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีในหัวข้อ 18
– มีข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อย ประกอบด้วย ความก้าวหน้าในการใช้จ่ายงบประมาณ
– สามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
 รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
 20 รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี – แสดงผลการดำเนินงานตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
– มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณ อย่างน้อย ประกอบด้วยดังนี้
1.ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
2.ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ(หากไม่มีปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้เขียนบอกว่า “ไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ” แต่ต้องปรากฎรายละเอียดครบทั้ง 2 องค์ประกอบ)
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
 รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี 2567
การจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุ
 21  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดการพัสดุ – แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุตามที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
– เป็นข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณปัจจุบัน* กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 5 แสนบาทหรือการจัดซื้อจัดจ้างที่กฏหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้สถานศึกษาอธิบายเพิ่มเติม โดยละเอียด หรือเผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในกรณีดังกล่าว
 ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างยอดจัดสรรวัสดุฝึก
 22  ประกาศต่าง ๆเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ – แสดงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างตามที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ยกตัวอย่าง เช่น ประกาศเชิญชวนประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
– เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณปัจจุบัน
 ข่าวจัดซื้อ/จัดจ้าง
 23  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน – แสดงสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างของสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดผลการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น งานที่ซื้อหรือจ้าง, วงเงินที่ซื้อหรือจ้าง, ราคากลาง, วิธีการซื้อหรือจ้าง,รายชื่อผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอผู้ได้รับการคัดเลือกและราคาที่ตกลง เหตุผลที่คัดเลือกโดยสรุปเลขที่และวันที่ของสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อหรือจ้าง เป็นต้น
– เป็นข้อมูลแบบรายเดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
 สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
 24  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี – แสดงผลการจัดซื้อจัดจ้างของสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียด อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
1.งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง
2.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ(หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้เขียนบอกว่าไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แต่ต้องประกฎรายละเอียดครบทั้ง 2 องค์ประกอบ
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
 รายงานผล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 25  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล – เป็นนโยบายหรือแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ยังใช้บังคับในสถานศึกษาในปีงบประมาณปัจจุบัน เช่น การพัฒนาการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล, กีฬาสานสัมพันธ์บุคลากรอาชีวศึกษา, พัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อขอมีขอเลื่อนวิทยฐาน เป็นต้น
– แสดงนโยบายของผู้บริหารสูงสุด (ผอ.) หรือแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่กำหนดไว้ในนามของสถานศึกษา
 นโยบายการบริหารทรัพยากร
 26  การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล – แสดงการดำเนินการที่มีความสอดรับตามนโยบายหรือแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในข้อ 25
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
 การดำเนินการตามนโยบาย
 27  หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล – แสดงหลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ยังบังคับใช้ในสถานศึกษา ปีงบประมาณปัจจุบัน
อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เช่นการสรรหาและคัดเลือก พนักงานราชการ, ครูสอนพิเศษ, เจ้าหน้าที่ เป็นต้น
   2.การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร เช่นการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานราชการ, ครูพิเศษสอน, เจ้าหน้าที่ เป็นต้น
   3.การพัฒนาบุคลากร เช่น การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
   4.การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร เช่น รายงานผลการประเมินเงินเดือน เป็นต้น
   5.การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ เช่น การขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์, การแสดงความยินดีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น, การเชิดชูเกียรติและบุคลากรดีเด่น เป็นต้น
1.การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
2.การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร
3.การพัฒนาบุคลากร
4.การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร
5.การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจ
 28  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล – แสดงผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
– มีข้อมูลรายละเอียดของการดำเนินการ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ผลการดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
   2.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะผลการวิเคราะห์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล(หากไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้เขียนบอกว่าไม่มีปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ แต่ต้องประกฎรายละเอียดครบทั้ง 2 องค์ประกอบ)
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปีงบประมาณ
 รายงานผลการบริหารทรัพยากรบุคคล
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 29  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบ – แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา มีข้อมูลรายละเอียดของการปฏิบัติงาน อย่างน้อย ประกอบด้วยดังนี้
   1.รายละเอียดวิธีที่บุคคล ภายนอกจะทำการร้องเรียน
   2.รายละเอียดขั้นตอนหรือวิธีการในการจัดการต่อเรื่องร้องเรียน
   3.ส่วนงานที่รับผิดชอบ
   4.ระยะเวลาในการดำเนินงาน
 แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียน
 30  ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  – แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและการประพฤติมิชอบของบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ของสถานศึกษา โดยแยกต่างหากจากช่องทางการร้องเรียนทั่วไป เพื่อเป็นการคุ้มครองข้อมูลผู้แจ้งเบาะแสและเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
– สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของสถานศึกษา
 ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียน
แจ้งเรื่องร้องเรียน
 31  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  – แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา
– มีข้อมูลความก้าวหน้าการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.จำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด
   2.จำนวนเรื่องที่ดำเนินการเสร็จแล้ว
   3.จำนวนเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
– สามารถจัดทำข้อมูลแบบเป็นรายเดือน หรือไตรมาส หรือราย 6 เดือนที่มีข้อมูลครอบคุลมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน *กรณีไม่มีเรื่องร้องเรียนให้เผยแพร่ว่าไม่มีเรื่องร้องเรียน
 ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียน
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
32 ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น – แสดงช่องทางที่บุคคลภายนอกสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่หรือภารกิจของสถานศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์
– สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของสถานศึกษา
ช่องทางแสดงความคิดเห็น
33 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม – แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของสถานศึกษา เช่น ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม/โครงการ,การลงนามความร่วมมือ (MOU) กับสถานประกอบการหรือบุคคล/หน่วยงานภายนอก เป็นต้น
– เป็นการดำเนินงานในปีงบประมาณปัจจุบัน
การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
การลงนามความร่วมมือ
ตัวชี้วัดย่อยที่ 10.1 การด าเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
เจตจ านงสุจริตของผู้บริหาร
 34  นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)  – แสดงนโยบายว่าผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และบุคลากรทุกคน จะต้องไม่มีการรับของขวัญ (No Gift Policy)
– ดำเนินการสูงสุดโดยผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบัน (ผอ.) และหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทน
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
 ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ

ประชาสัมพันธ์นโยบายไม่รับของขวัญ
 35  การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร – แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริหารสูงสุด(ผอ.) และหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทน
– เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมสถานศึกษาด้านคุณธรรมและโปร่งใส
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
 รายงานผลโครงการการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
36 การประเมินความเสี่ยง
การทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
– แสดงผลการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
– มีข้อมูลรายละเอียดของผลการประเมิน อย่างน้อยประกอบด้วยเหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับความเสี่ยง มาตรการและการดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยง
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
การประเมินความเสี่ยง
37 การดำเนินการเพื่อการจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ – แสดงการดำเนินการหรือกิจกรรมที่แสดงถึงการจัดการความเสี่ยงในกรณีที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบของสถานศึกษา
– เป็นกิจกรรมหรือการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรการหรือการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงตามข้อ O36
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยง
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
38 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรตามมาตรฐานทางจริยธรรม – แสดงถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนของสถานศึกษามีทัศนคติ ค่านิยมในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี รับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาททางสังคม
– เป็นการดำเนินการที่สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเอง
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
รายงานผลโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
แผนป้องกันการทุจริต
39 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต – แสดงแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทุจริตหรือพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดของแผนฯ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.โครงการ /กิจกรรม
   2.งบประมาณ
   3.ช่วงเวลาดำเนินการ
– เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ในปีงบประมาณปัจจุบัน (กรณีไม่ได้ใช้งบประมาณ ให้ระบุว่าไม่ใช้งบประมาณ)
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
40 รายงานการกำกับติดตามการป้องกัน การทุจริต ประจำปี รอบ 6 เดือน – แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตตามข้อ O39
– มีข้อมูลรายละเอียดความ ก้าวหน้า อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
   2.รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน
– สามารถจัดทำข้อมูลเป้นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือนที่มีข้อมูลครอบคุลมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน
รายงานการกำกับติดตาม
41 รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี – แสดงผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
– มีข้อมูลรายละเอียดสรุปผลการดำเนินการ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ผลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
   2.ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
   3.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
– เป็นรายงานผลย้อนหลัง 1 ปี งบประมาณ
รายงานผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดย่อย 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
42 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสถานศึกษา – แสดงผลการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาอาชีวศึกษาย้อนหลัง 1 ปี งบประมาณ อย่างน้อย ประกอบด้วย ดังนี้
   1.ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน
   2.ประเด็นที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ที่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินฯ(หากไม่ได้ดำเนินการให้แสดงมาตรการที่ส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส่ภายในสถานศึกษา หรือนโยบาย ไม่รับของขวัญ)
ผลการวิเคราะห์และมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
43 การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสถานศึกษา – แสดงความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินการตามมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในสถานศึกษา
– มีข้อมูลรายละเอียดการนำมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานในข้อ O42 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
– เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน
การดำเนินงาน